หมอ: เอ่อ รู้ได้ไงครับว่าเป็นพยาธิครับ เห็นเป็นตัวเลยเหรอ
ลป: ผมไม่เห็นนะหมอ แต่ตามันขุ่นๆ ผมถามเพื่อนเค้าบอกว่าน่าจะเป็นพยาธิ แล้วเค้าจะมาเจาะออกให้ ผมไม่แน่ใจเลยโทรถามหมอนี่แหละครับ
หมอ: จริงๆ มันควรเจาะออกแหละครับ ถ้าเป็นพยาธิจริงๆ แต่ควรมั่นใจว่าใช่หรือเปล่า แล้วก็ไม่ควรเจาะกันเองนะครับ เพราะมันอันตราย
ลป: แล้วถ้าไม่เจาะนี่มียาหยอดมั้ยหมอ
หมอ: มันมีนะ หมอเคยได้ยินมา แต่โอกาสหายนี่ไม่รู้เหมือนกัน เห็นว่าบางเคสก็ตาบอด บางเคสก็หาย จะเสี่ยงมั้ยล่ะ
ลป: โอ้โห หมอเล่นขู่แบบนี้ ผมจะกล้าหยอดมั้ยเนี่ย
หมอ: ผมไม่ได้ขู่ มันเป็นแบบนั้นจริงๆ ถ้าผมบอกว่าหายแน่นอน ทั้งๆ ที่ข้อมูลไม่ชัวร์นี่ผมก็หมาแล้ว ไม่ใช่หมอ
ลป: ครับ หมา
หมอ: เดี๋ยวครับ เดี๋ยว
…………
นี่คือคำถามที่ผมได้รับบ่อยๆ ที่คนมักจะถามกัน
มันเป็นอะไร
รักษายังไง
ยาอะไรดี
จะหายมั้ย
ผมอดสงสัยไม่ได้ว่าเค้าไม่สงสัยกันเหรอว่าทำไมมันถึงเป็น มันมาจากไหน? เพราะถ้าเราถามกันแต่ว่าจะใช้ยาอะไร รักษายังไง เราก็ต้องเจอกับปัญหานี้ไม่รู้จบ เพราะเราไม่เข้าใจว่าโรคนั้นๆ มันมีที่มายังไง แล้วก็โทษฟ้าฝนแดดภูเขาลำธารต้นไม้ใบหญ้า แต่ไม่โทษตัวเอง
พยาธิมันสามารถไปอยู่ในลูกตาได้ครับ แต่มันไม่ใช่เรื่องที่พบเจอได้ปกติ ถ้าเจอแสดงว่ามีอะไรสักอย่างผิดพลาดเกี่ยวกับการจัดการของคุณแล้วล่ะ เพราะปกติพยาธิชนิดนี้สามารถกำจัดได้ด้วยยาถ่ายพยาธินี่แหละครับ ถ้าคุณถ่ายเป็นประจำแล้วยังเจอ หมายความว่าชนิดของยาถ่ายพยาธิที่ใช้อาจจะไม่เหมาะสม ขนาดยาที่ใช้อาจจะไม่เหมาะสม หรือความถี่ที่ให้อาจจะไม่เหมาะสม จึงทำให้พยาธิชนิดนี้สามารถมีชีวิตรอดและออกลูกออกหลานได้
เพราะพยาธิที่เข้าไปในตาที่เจอๆ กันนั้นมันเป็นตัวอ่อนของพยาธิชนิดหนึ่งครับ ที่ปกติแล้วตัวเต็มวัยของมันจะอยู่ในช่องท้องของม้า พอมันได้กันแล้วก็จะมีลูก ลูกของมันสามารถเข้าสู่เส้นเลือดได้ ซึ่งการเข้าสู่เส้นเลือดของตัวอ่อนนี้เป็นไปตามวงจรชีวิตปกติของมัน เพื่อที่จะเดินทางไปสู่ม้าตัวอื่น โดยมียุงเป็นตัวพาหะ
การที่มันเดินทางไปตามเส้นเลือดได้นั้น ก็หมายความว่ามันไปได้ทุกที่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นมันก็มีบ้างที่อาจจะหลุดเข้าไปที่ก้านสมอง ที่ไขสันหลัง และที่ตา เราก็เลยเจอพยาธิในลูกตาได้ครับ
พยาธิชนิดนี้จะใช้เวลา 3-7 เดือน (แล้วแต่สปีชีส์ของพยาธิ และชนิดสัตว์) หลังจากเข้าสู่ร่างกายม้า เพื่อพัฒนาตัวเองจนสามารถผลิตลูกหลานได้ ดังนั้นถ้าม้าของท่านมีพยาธิในลูกตา ก็หมายความว่าโปรแกรมการถ่ายพยาธิที่ผ่านมาที่ท่านใช้อยู่นั้น มันไม่โอเค
เข้าใจนะครับ........
เพราะฉะนั้นพิจารณาการถ่ายพยาธิม้าของท่านครับ ให้สัตวแพทย์เข้าไปจัดการ หรืออย่างน้อยปรึกษาสัตวแพทย์ก็ดีครับ เพราะตัวผมเองจะถ่ายพยาธิร่วมกับการตรวจอุจจาระทุกครั้ง เพื่อประเมินการใช้ยาว่ามันเหมาะสมหรือไม่
พยาธิอยู่ในลูกตาแล้วจะเป็นยังไง?
ตาอักเสบ บวม ขุ่น ความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้น และสุดท้ายตาบอดครับ ม้าบางตัวเอาตาไปถูกับสารพัดสิ่งจนเกิดบาดแผลภายนอกที่กระจกตา ที่เปลือกตา ซึ่งก็จะเพิ่มความรุนแรงของโรคขึ้นไปอีก
มันน่ารำคาญและรู้สึกยังไง คำตอบนี้ให้นึกถึงตอนที่เรามีฝุ่นเข้าตาครับ เราเจ็บ เราปวด เราไม่อยากลืมตา เราแสบ พยายามเอามือถู สารพัดที่จะทำเพื่อให้มันหายเจ็บ แต่หลายครั้งก็ทำให้เจ็บกว่าเดิม นั่นแค่ฝุ่นเข้าตาเรานะ แต่นี่ม้ามีพยาธิตัวนึงดิ้นดุ๊กดิ๊กๆ อยู่ข้างในลูกตาเลย โคตรทรมานครับ
แล้วจะรักษายังไง?
วิธีการรักษาที่เหมาะสมคือ การผ่าตัดเพื่อเอาตัวพยาธิออก ร่วมกับการถ่ายพยาธิด้วยยาที่เหมาะสม และหยอดตาเพื่อลดการอักเสบของตา
ส่วนที่คุยกันว่าการหยอดยาเพื่อฆ่าพยาธิที่ตานั้นสามารถทำได้ครับ แต่ผลการรักษาไม่แน่นอน ความเสี่ยงคือถ้าไม่ตอบสนองม้าจะตาบอดได้ในที่สุด และหลายครั้งมักจะกลับมาเป็นอีก หากไม่มีการเลือกใช้ยาถ่ายพยาธิที่เหมาะสม ในโดสที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นเลือกกันเอาเองครับ
ลป: ฮัลโหลหมอ นี่หมายความว่าผมเลี้ยงม้าไม่ดีเหรอหมอ
หมอ: ไม่ใช่ไม่ดีครับ คุณแค่ไม่รู้เท่านั้นเอง ตอนนี้รู้แล้วก็เอาไปปรับใช้นะ
ลป: โอเคครับหมอ ม้ากำลังขึ้นรถนะ จะไปถึงหมอในอีก 2 ชั่วโมง ผ่าแล้วดูแลให้ด้วยนะครับ
หมอ: เดี๋ยวๆๆ ให้เวลาหมอเตรียมตัวบ้างสิเฮ้ย
ลป: ไม่รู้ล่ะ รถออกแล้วหมอ เดี๋ยวเจอกัน
หมอ: ........... นี่มันสองทุ่มแล้วนะ..... TwT
ลป: 555555555555555555
เลือกเอาครับว่าจะรอให้ม้าเป็นโรคแล้วค่อยรักษา เพื่อเสี่ยงว่าจะหายหรือไม่ หรือจะป้องกันเพื่อลดโอกาสที่ม้าจะเป็นโรค
เพราะคุณภาพชีวิตม้า อยู่ในมือคุณครับ
(อ่านต่อในเรื่องเชิงวิชาการได้ครับ แต่ถ้าขี้เกียจอ่าน หยุดตรงนี้ก็โอเคครับ)
โรคพยาธิในตานี้จัดเป็นโรคที่พบได้น้อยครับ (แต่ทำไมบ้านเราพบบ่อยก็ไม่รู้นะครับ) ในหนังสือทางสัตวแพทย์ต่างๆ ก็แทบไม่มีเขียนไว้ มีก็อาจจะแค่สักย่อหน้า หรือสองย่อหน้าเท่านั้น (จากหนังสือเล่มหนึ่งที่มีเป็นพันๆ หน้า) เพราะฉะนั้น เดี๋ยวจะสรุปให้อ่านกัน
พยาธิที่พบในตาม้าในที่นี้ หมายถึงพยาธิที่อยู่ในช่องด้านหน้าในลูกตา (Anterior chamber) (กรุณาดูภาพประกอบ)

พยาธิที่พบในช่องด้านหน้าในลูกตานี้มีอยู่ 3 ตัวด้วยกัน ซึ่งทั้งหมดเป็นพยาธิตัวกลม ได้แก่ 1.Setaria 2. Thelazia 3.Onchocerca ซึ่งทั้งหมดนี้ปกติแล้วไม่ได้อาศัยอยู่ในช่องด้านหน้าในลูกตา ซึ่งในที่นี้ผมขอกล่าวถึง Setaria
Setaria เป็นพยาธิที่พบได้ในช่องท้องของม้า วัว แพะ แกะ โดยพยาธิชนิดนี้ไม่ก่อโรคที่รุนแรง แต่ทว่าตัวอ่อนของมันที่ชื่อว่า Microfilaria เหมือนเด็กที่ซุกซน ชอบไปท่องเที่ยวโดยอาศัยหลอดเลือดเหมือนเป็นรถไฟฟ้าเดินทางภายในตัวม้าซึ่งมันไปได้ทุกที่ ไปที่ไขสันหลัง ก็ทำให้ม้าเกิดอาการทางระบบประสาท ไปที่ตา ก็ทำให้เกิดอาการตาอักเสบรุนแรง และอาศัยยุง และแมลงดูดเลือดอื่นๆ เสมือนเครื่องบิน เพื่อพาไปเที่ยวยังสัตว์ตัวอื่นๆ โดยที่เมื่อตัวอ่อนเข้าไปที่สัตว์ตัวอื่นๆ ก็จะใช้เวลา 3-7 เดือน (แล้วแต่สปีชีส์ของสัตว์ และพยาธิ) ในการพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย และผลิตตัวอ่อนออกมาเพื่อส่งต่อลูกหลานของมันสืบไป
สัตวแพทย์ญี่ปุ่นได้เคยเก็บสถิติไว้ว่าพบพยาธิชนิดนี้ในช่องท้องของม้าที่ผ่าซากทั้งหมด 66 ตัว จากม้า 305 ตัว คิดเป็นเปอร์เซนต์ที่สูงถึง 22%
จากการสำรวจพบว่าในประเทศทางแถบเอเชีย วัวจะมีพยาธิในตระกูลนี้ที่ชื่อว่า Setaria digitata ซึ่งสามารถไปติดม้า แกะ แพะ อูฐ รวมถึงมนุษย์ได้ด้วย ในอินเดีย พม่า และศรีลังกา ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทที่เรียกว่า Kumri ซึ่งหมายถึงอาการหลังอ่อนแรง ซึ่งเกิดขึ้นตามฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีแมลงมาก (ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้น แมลงเพียบทั้งปี)
การใช้ยาถ่ายพยาธิ สามารถฆ่าพยาธินี้ได้ โดยพบว่ายาถ่ายพยาธิในกลุ่ม Ivermectin ในโดสที่เหมาะสม สามารถฆ่าพยาธิชนิดนี้ที่อยู่ในช่องท้องได้ และสำหรับตัวอ่อนที่อยู่ในช่องด้านหน้าในลูกตานั้น การรักษาที่ได้ผลแน่นอนที่สุดคือการผ่าตัด เพื่อเอาตัวพยาธิออก ร่วมกับการถ่ายพยาธิโดยการใช้ยาที่จำเพาะ
การรักษาโดยการใช้ยาหยอดตาเพื่อฆ่าพยาธิโดยตรงไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่าจะสามารถฆ่าพยาธิดังกล่าวได้ แต่การหยอดตาเพื่อลดอักเสบ และลดโอกาสในการติดเชื้อก็ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่
จากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่า อัตราการหายจากการใช้ยาถ่ายพยาธิมาหยอดตา (ในการควบคุมของสัตวแพทย์) มีผลที่ไม่แน่นอน บางเคสตอบสนอง บางเคสไม่ตอบสนองเลย ต้องส่งผ่าตัด และหลายเคสตาบอด
จากข้อมูลดังกล่าว เราสามารถวางแนวทางการป้องกัน และรักษาโรคพยาธินี้ได้คือ
1.การป้องกัน
จากการสำรวจพบว่าในประเทศทางแถบเอเชีย วัวจะมีพยาธิในตระกูลนี้ที่ชื่อว่า Setaria digitata ซึ่งสามารถไปติดม้า แกะ แพะ อูฐ รวมถึงมนุษย์ได้ด้วย ในอินเดีย พม่า และศรีลังกา ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทที่เรียกว่า Kumri ซึ่งหมายถึงอาการหลังอ่อนแรง ซึ่งเกิดขึ้นตามฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีแมลงมาก (ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้น แมลงเพียบทั้งปี)
การใช้ยาถ่ายพยาธิ สามารถฆ่าพยาธินี้ได้ โดยพบว่ายาถ่ายพยาธิในกลุ่ม Ivermectin ในโดสที่เหมาะสม สามารถฆ่าพยาธิชนิดนี้ที่อยู่ในช่องท้องได้ และสำหรับตัวอ่อนที่อยู่ในช่องด้านหน้าในลูกตานั้น การรักษาที่ได้ผลแน่นอนที่สุดคือการผ่าตัด เพื่อเอาตัวพยาธิออก ร่วมกับการถ่ายพยาธิโดยการใช้ยาที่จำเพาะ
การรักษาโดยการใช้ยาหยอดตาเพื่อฆ่าพยาธิโดยตรงไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่าจะสามารถฆ่าพยาธิดังกล่าวได้ แต่การหยอดตาเพื่อลดอักเสบ และลดโอกาสในการติดเชื้อก็ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่
จากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่า อัตราการหายจากการใช้ยาถ่ายพยาธิมาหยอดตา (ในการควบคุมของสัตวแพทย์) มีผลที่ไม่แน่นอน บางเคสตอบสนอง บางเคสไม่ตอบสนองเลย ต้องส่งผ่าตัด และหลายเคสตาบอด
จากข้อมูลดังกล่าว เราสามารถวางแนวทางการป้องกัน และรักษาโรคพยาธินี้ได้คือ
1.การป้องกัน
ควรการถ่ายพยาธิอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่กับการตรวจอุจจาระม้าเพื่อเลือกใช้ยาที่เหมาะสม และลดโอกาสในการดื้อยาถ่ายพยาธิ ควบคู่กับการลดจำนวนแมลงนำโรค
2.การรักษา
2.การรักษา
ควรส่งผ่าตัด ร่วมกับถ่ายพยาธิด้วยยาที่จำเพาะ และหยอดยาอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อลดการอักเสบ และติดเชื้อ โอกาสในการหายจากการรักษาด้วยวิธีนี้ค่อนข้างสูง
ส่วนการหยอดยาเพื่อฆ่าพยาธิที่ตาสามารถทำได้ แต่ผลการรักษาไม่แน่นอน ความเสี่ยงคือถ้าไม่ตอบสนองม้าจะตาบอดได้ในที่สุด และหลายครั้งมักจะกลับมาเป็นอีก หากไม่มีการเลือกใช้ยาถ่ายพยาธิที่เหมาะสม ในโดสที่ถูกต้อง
การป้องกันไม่ว่าจะเป็นโรคใดๆ ก็ตาม ไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% ครับ
แต่ก็อย่าลืมว่าการรักษาไม่ว่าจะเป็นโรคใดๆ หรือวิธีใดๆ ก็ตาม ก็ไม่สามารถรักษาได้ 100% เช่นกัน
คุณภาพชีวิตม้า อยู่ในมือคุณครับ
Reference
Brian C.Gilger, Equine Ophthalmology, SAUNDERS; 2005. Page 5, 437
Stephen M.Reed, Equine Internal Medicine, SAUNDERS; 2004. page 586, 659-660
Klaus-Dieter Budras, W.O. Sack, Sabine Röck, Anatomy of the Horse Fifth edition, Schlutersche; 2009. page 43
Derek C Knottenbelt, Reg R Pascoe, Color Atlas of Diseases and Disorders of the Horse, SAUNDERS; 2013. page 324-325
ส่วนการหยอดยาเพื่อฆ่าพยาธิที่ตาสามารถทำได้ แต่ผลการรักษาไม่แน่นอน ความเสี่ยงคือถ้าไม่ตอบสนองม้าจะตาบอดได้ในที่สุด และหลายครั้งมักจะกลับมาเป็นอีก หากไม่มีการเลือกใช้ยาถ่ายพยาธิที่เหมาะสม ในโดสที่ถูกต้อง
การป้องกันไม่ว่าจะเป็นโรคใดๆ ก็ตาม ไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% ครับ
แต่ก็อย่าลืมว่าการรักษาไม่ว่าจะเป็นโรคใดๆ หรือวิธีใดๆ ก็ตาม ก็ไม่สามารถรักษาได้ 100% เช่นกัน
คุณภาพชีวิตม้า อยู่ในมือคุณครับ
Reference
Brian C.Gilger, Equine Ophthalmology, SAUNDERS; 2005. Page 5, 437
Stephen M.Reed, Equine Internal Medicine, SAUNDERS; 2004. page 586, 659-660
Klaus-Dieter Budras, W.O. Sack, Sabine Röck, Anatomy of the Horse Fifth edition, Schlutersche; 2009. page 43
Derek C Knottenbelt, Reg R Pascoe, Color Atlas of Diseases and Disorders of the Horse, SAUNDERS; 2013. page 324-325
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น